ระบบบริหารจัดการฝึกอบรม

หลักสูตร "ผู้ชำนาญการในการติดตั้ง ทดสอบและบำรุงรักษาเครื่องอัดประจุไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้า"

วัตถุประสงค์การอบรม

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรฐาน กฎหมายข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมโอกาสทางธุรกิจจากการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
  2. เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่สนใจติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าและส่งเสริมให้เกิดการติดตั้งและใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  3. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และโอกาสทางตลาดจากการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าตามสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล หมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม สถานที่ทำงาน สถานที่สาธารณะ หน่วยงานราชการ เป็นต้น

รายละเอียดและหัวข้อการอบรม

เวลา

กำหนดการวันที่ 1

08.00 - 8.45 ลงทะเบียน
09.00 - 10.30 1. ความรู้พื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้าและการประจุไฟฟ้า
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
- รูปแบบการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า
2. มาตรฐานการติดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า
- มาตรฐาน/ข้อกำหนดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เกี่ยวกับการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า
- การตรวจสอบมาตรฐานการติดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้ากฟภ.
10.30 - 10.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.40 - 12.10
- ข้อกำหนดการเชื่อมต่อสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า พ.ศ. 2563

- หลักเกณฑ์การพิจารณาการขึ้นทะเบียนเครื่องอัดประจุไฟฟ้าและสถาบัน/หน่วยงาน


12.10 - 13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 3. นโยบายส่งเสริมสถานีประจุไฟฟ้าของภาครัฐ
- นโยบายส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้าของภาครัฐ/ที่มาของการดำเนินการ เพื่อรองรับการเชื่อมต่อของสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Low Priority
4. แนวทางการขออนุญาต EV Low Priority
- กระบวนงาน (Work Flow) และแบบฟอร์มขอใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Low Priority
- ระเบียบ/อนุมัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ที่เกี่ยวข้อง กรณีการขอใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าฯ
14.30 - 14.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
14.40 - 16.20 4. แนวทางการขออนุญาต EV Low Priority (ต่อ)
- ระเบียบ/อนุมัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ที่เกี่ยวข้อง กรณีการขอใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าฯ (ต่อ)
- การขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 สำหรับการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก

เวลา

กำหนดการอบรม วันที่ 2

08.00 - 8.45 ลงทะเบียน
09.00 - 10.30 5. การออกแบบสถานีประจุไฟฟ้าและการลงทุนติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า
- ความเหมาะสมของการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้ายานยนต์ไฟฟ้า
- การตรวจวัดและทดสอบความปลอดภัยของระบบอัดประจุไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าเข้าสู่ยานยนต์ไฟฟ้า
10.30 - 10.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.40 - 12.10 - การทดสอบการควบคุมปฏิบัติการควบคุมระบบโครงข่ายไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Low Priority
- โอกาสทางธุรกิจ และการเตรียมตัวในการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า (กฟภ.)
12.10 - 13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 6. โอกาสทางธุรกิจและการเตรียมตัวในการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า
- โอกาสทางธุรกิจ และการเตรียมตัวในการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า
- ตัวอย่างการให้บริการสถานีประจุไฟฟ้าในปัจจุบัน
14.30 - 14.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
14.40 - 16.20 7.แนวทางการบำรุงรักษาเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าภายในสถานีอัดประจุไฟฟ้า
- การตรวจสอบ และบำรุงรักษาเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าภายในสถานีอัดประจุไฟฟ้า

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • วิศวกร พนักงานช่าง พนักงานไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ควบคุมงาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องด้านการติดตั้ง ทดสอบและบำรุงรักษาเครื่องอัดประจุไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า
  • ผู้ที่สนใจติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าและส่งเสริมให้เกิดการติดตั้งและใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย

วิทยากร

  • ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
  • ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก

รายละเอียดการอบรม

  • ระยะเวลาอบรม 2 วัน (12 ชั่วโมง)
  • อาหารกลางวัน 2 มื้อ, อาหารว่างและเครื่องดื่ม 4 มื้อ
  • เอกสารประกอบการอบรม และประกาศนียบัตร
  • กรณีที่ผู้สมัครไม่สามารถเข้าอบรมได้ กรุณาหาผู้แทนหรือแจ้งยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนวันเข้าอบรมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ มิฉะนั้น บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเต็มจำนวน
  • กรุณาสมัคร เลือกรุ่น/วัน/สถานที่ฝึกอบรม พร้อมแนบหลักฐานการโอนเงิน เอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร
  • กรุณาโอนเงินค่าธรรมเนียมการอบรม ล่วงหน้าก่อนวันอบรมอย่างน้อย 10 วันทำการ

ขั้นตอนการชำระเงิน

  • กรุณาชำระเงิน ชื่อบัญชี บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (โครงการจัดอบรม)
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 073-0-14673-1
  • พร้อมแนบหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย ฉบับจริง จัดส่งมายังบริษัท และส่งสำเนาการชำระเงิน
  • ลูกค้าในนามบริษัทนิติบุคคล ต้องแนบ ภ.พ.20 เพื่อความถูกต้องในการเปิดใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษี
  • สามารถทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ค่าบริการฝึกอบรม (คำนวนจากยอดก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) ทั้งนี้หากลูกค้าเลือกประเภทการหักภาษีผิด ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน
 หมายเหตุ
  • เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) จึงขอให้ผู้เข้าอบรมทุกท่าน รวมถึงทีมวิทยากรและผู้ประสานงานการจัดอบรม (PEA ENCOM) ตรวจหาเชื้อโควิดโดยวิธี Antigen Test Kit ด้วยตัวเอง